วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

WELCOME


 ^_^  *** เพิ่นเติมความรู้ด้วยตัวคุณเอง *** ^_^



Unit 5 จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร
          อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่างๆเป็นต้น
          ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งคือ
อาชญากรรมไซเบอร์ (Cyber crime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คือ
          -การกระทำการใดๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผล ประโยชน์ตอบแทน
          -การกระทำผิดกฏหมายใดๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างอาชญากรทางคอมพิวเตอร์
-พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
-พวกวิกลจริต (Deranged persons)
-อาชญกรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
-อาชญากรอาชีพ (Career)
-พวกหัวพัฒนามีความก้าวหน้า (Con artists)
-พวกคลั่งลัทธิ (Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน (Ideologues)
-ผู้ที่มีความรู้และทักษณะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker)



2.ความหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
          2.1 แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์

       2.2 แครกเกอร์ (Cracker) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีจนสามารถเข้าสู่ระบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฎิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์

        2.3 สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาติจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้นเมื่อได้รับ อีเมลที่มีหัวข้อเช่น “Make Money from Home” หรือ“XXX Hot SEXXXY Girls” ถ้าอีเมลเหล่านี้ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการรับอีเมลเหล่านี้แน่ๆ เพราะมันจะทให้คุณเสียเวลา ค่าใช้จ่าย แบนด์วิดธ์ และพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ในการดาวน์โหลดอีเมลเหล่านี้มาอ่าน ถึงแม้จะไม่มีวิธีที่จะกำจัดอีเมลเหล่านี้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คุณก็สามารถทำบางอย่างเพื่อป้องกันจดหมายขยะที่น่ารำคาญเหล่านี้ได้

         2.4 ม้าโทรจัน (Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องจั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ หรือระบบเครือข่ายอีกที่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ “ปฏิเสธการให้บริการ” (Denial of Services)
          โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์

                    2.5 สปายแวร์ (Spyware) คือ โปรแกรมเล็กๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่างๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อยๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็ปไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเว็ปประเภทลามกอนาจารพร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบๆหน้าต่าง



3.กฏหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
          มีไว้เพื่อควบคุม ไม่ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหายในด้านต่างๆ ในกฏหมายแท้จริงแล้วมีมากมายหลายแง่มุม ก็ขอนำเสนอเฉพาะในส่วนที่ควรรู้และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้งานทั่วไป พอจะสรุปคร่าวๆได้ดังนี้
          3.1 เจ้าของระบบหรือข้อมูลไม่อนุญาติแต่มีผู้แอบอ้างเข้าไปใช้ระบบหรือพื้นที่มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน เช่น การแอบดู e-mail ของเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาติ


          3.2 แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นและนำไปบอกต่อให้ผู้อื่นรู้หรือทราบวิธีการเข้าสู่ระบบนั้นๆ มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี เช่น การแฮกเกอร์ที่เจาะเข้าระบบใดระบบหนึ่ง และเอาวิธีการเจาะระบบไปบอกแฮกเกอร์คนอื่นๆให้รู้ และคนอื่นเข้ามาแฮกต่อกันไปเรื่อยๆ


          3.3 แอบไปเอาข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาติ มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี เช่น การนำภาพส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ หรือ การขโมยรหัสบัตร ATM



          3.4 กรณีที่ผู้อื่นส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว ผู้ที่ไปดักจับข้อมูล มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เช่น แอบฟ้งโทรศัพท์ผู้อื่น



           3.5 กรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้อื่นทำงานอยู่ มีผู้อื่นเข้าไปปรับเปลี่ยนแก้ไขจนผิดเพี้ยนไปจากเดิม หรือเกิดความเสียหาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
______________________________________________________________________

Unit 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
          สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อการแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

          สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน(Un-shield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน


          สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลียวแบบหุ้มฉนวน


          สายโคแอคเชียล (Coaxial) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันสายประเภทนี้ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่ สายประเภทนี้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ติดตั้งง่าย แต่จะถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย และระยะทางจำกัด


          สายใยแก้วนำแสง(Fiber Optics) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมากเส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็กมีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เราเส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก เส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือเส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)



การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
            การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น
             การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน
            ามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN, MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้าย
ไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น
            สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
             ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
            ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที 


การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร ในรูปแบบของระบบเครือข่าย
      (LAN Topology)


           เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย(Wireless LAN) เพราะองค์กรเป็นลักษณะsite work มีการเคลื่อนย้าย ลักษณะออฟฟิตเป็นตู้คอนเทนเนอร์ การทำงานระบบนี้จะช่วยให้ทำงานระบบเครือข่ายได้ง่ายไม่ยุ่งยากในการติดตั้งสายLAN เพียงติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณตัวเดียว ก็สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้

Internet มีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
            1.เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่คล้ายกับห้องสมุด
            2.สามารถรับรู้ข่าวสานได้ทันต่อเหตุการณ์
            3.มีความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
            4.เป็นห้องสมุดออนไลน์ ที่มีความรู้อยู่ครบถ้วน
            5.เกิดเว็บไซต์ขึ้น ทำให้มีแหล่งค้นขว้า
            6.เกิดการทดลองการทำเว็บในกลุ่มเด็ก
            7.การศึกษาในระบบการศึกษาได้นำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการศึกษามากขึ้น 
               ทั้งช่วยในการสืบค้นข้อมูลและในการเรียนการ   สอนด้วยทั้ง E-libaray, E-learning

______________________________________________________________________
                           Unit 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

(Present)





















______________________________________________________________________

Unit 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์แบ่งได้ 3 วิธี คือ
1.ขั้นตอนการเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
  • การลงรหัส
  • การตรวจสอบ
  • การจำแนก
  • การบันทึกข้อมูลลงสื่อ

2.ขั้นตอนการประมวลผล เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่าง เช่น การคำนวณ, การเรียงลำดับข้อมูล, การสรุป, การเปรียบเทียบ

3.ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอ บนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น










































                 จากภาพตัวอย่างเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับDrawingที่จะทำการผลิต ซึ่งจะช่วยในการทำแฟ้มข้อมูลของจำนวนDrawingที่จะทำการผลิตทั้งหมด และสามารถแบ่งประเภทและจำนวนชิ้นของ Material (วัตถุดิบ) ที่จะใช้ในแต่ละ Drawing ได้ว่ามีรายการใดบ้าง และจำนวน Material (วัตถุดิบ) ที่จะต้องในแต่ละDrawing รวมถึงรวมยอดสั่ง Material(วัตถุดิบ) ทั้งหมดของโครงการนั้นๆ

ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมุลแบบแบชและแบบเรียวไทม์
การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)
1.รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แล้วจึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ทำการประมวลผลครั้งเดียว
3.จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing)
1.การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพท์ออกมาทันที
2.แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output
3.เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่างๆ
______________________________________________________________________

Unit 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์(Hardware)
                คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ

1.อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลางผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่แป้นพิมพ์, เมาส์, แทร็กบอล, จอยสติกส์, เครื่องอ่านบาร์โค๊ต, สแกนเนอร์, เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง, เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก เป็นต้น

2. อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล
การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฎิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล โดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุม (Control Unit), ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit)

3. อุปกรณ์แสดงผล
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ(Monitor), เครื่องพิมพ์(Printer), เครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์(Dot Matrix Printer), เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก(Ink-Jet Printer), เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์(Laser Printer), เครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์ (Plotter Printer), ลำโพง(Speaker)

ซอฟต์แวร์
(Software)
           เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง
ซอฟต์แวร์ระบบ >>> ซอฟต์แวร์ระบบ – ระบบปฎิบัติการหรือควบคุมเครื่อง
                                    ยูติลิตี้ – โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง
                                    ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ – โปรแกรมไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ต่อพ่วง
                                    ตัวแปลภาษา – โปรแกรมแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาระดับสูง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ >>>ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็นSoftware ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Soft ware สำหรับงานธนาคารการฝาก-ถอนเงิน, Soft ware สำหรับงานทะเบียนนักเรียน, ซอฟต์แวร์คิดภาษี, ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ

บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
(People ware)
           หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์   ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการแบ่งออกได้ 4 ระดับ

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

ข้อมูล
(Data)
          คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับงานที่ปฎิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือที่ได้จากหน่วยงานอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว

สารสนเทศ(Information)
          คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศ  ที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย

       ตัวอย่างธุรกิจที่จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ People ware มาใช้ในธุรกิจคือ ธุรกิจ โรงเรียนกวดวิชา
       จากข้อมูลของโรงเรียนกวดวิชาได้มีการบันทึกจำนวนนักเรียนที่มาเรียนกวดวิชา และได้ประมวลผลจำนวนนักเรียนไว้ในรูปแบบกราฟเส้นทำให้ทราบจำนวนนักเรียนในแต่ละวิชาว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะคำนวนเรื่องสถานที่สำหรับนักเรียนและจำนวนอาจารย์ที่จะต้องเพิ่มจำนวน เพื่อให้เพียงพอสำหรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ให้เหมาะสม หรือ อาจจะใช้ข้อมูลดังกล่าว ประเมินรายรับ-รายจ่ายและเปิดสอนในวิชาอื่น เพื่อให้นักเรียนได้เพิ่มความรู้ได้อีกด้วย

        ตัวอย่างข้อมูล พร้อมแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ


______________________________________________________________________

Unit 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี (Technology)
       หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆที่จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

สารสนเทศ (Information)
       หมายถึง  ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บ รวบรวมและเรียบเรียง  เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
         หมายถึง  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศซึ่งเทคโนโลยีทีใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสารสเทศเพื่อช่วยการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ข้อมูล (Data)
           คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกไว้ใช้งาน

ฐานความรู้ (Knowledge Base)
           คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ เช่น การประยุกต์ใช้สารสนเทศในงานสำนักงาน
  •    งานจัดเตรียมเอกสาร
  •    งานกระจายเอกสาร
  •    งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร
  •    งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ
  •    งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง
  •    งานสือสารด้วยสื่อผสม(Multimedia)

โครงสร้างสารสนเทศ
ระดับล่างสุด (Transaction Processing System)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า การประมวลผลรายการ

ระดับที่สอง (Operation Control)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน

ระดับที่สาม (Management Control)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ

ระดับที่สี่ (Strategic Planning)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูงสำหรับใช้ในการวางแผนระยะยาว  ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ยุคการประมวลผลข้อมูล (Data Processing era)
เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ของช่วงนั้นคือ เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง

2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
     (Management Information System : MIS)
      เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร

3.ระบบจัดการทรัพยกรสารเทศ
(Information Resource Management System : IRMS )
เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่ เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ